the white tiger เป็นนวนิยายของ Aravind Adiga ตีพิมพ์ในปี 2551 และได้รับรางวัล Man Booker Prize ในปีนั้น เรื่องนี้เป็นเรื่องราวที่ตลกขบขันและกล้าหาญของชนชั้นทางสังคม การทุจริต และการแสวงหาอิสรภาพในอินเดียยุคใหม่การเล่าเรื่องถูกส่งผ่านชุดจดหมายที่เขียนโดยตัวเอก Balram Halwai ถึงนายกรัฐมนตรีจีน บัลรัมเกิดในความยากจน เล่าถึงการเดินทางของเขาจากคนรับใช้ต่ำต้อยในหมู่บ้านชนบทสู่ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในเมืองบังกาลอร์อันพลุกพล่าน การเปลี่ยนแปลงของเขาจาก “ไก่” (คำอุปมาของผู้เชื่อฟังและยอมจำนน) มาเป็น “เสือขาว” (นักล่าที่หายากและทรงพลัง) แสดงถึงการหลุดพ้นจากโครงสร้างทางสังคมที่กดขี่และการยืนยันเสรีภาพส่วนบุคคลนวนิยายเรื่องนี้วาดภาพที่ชัดเจนของการแบ่งแยกอันกว้างใหญ่ระหว่างคนรวยกับคนจนในอินเดีย โดยสำรวจประเด็นของความทะเยอทะยาน ศีลธรรม และความเป็นจริงอันโหดร้ายของการปีนบันไดทางสังคม ชื่อ *เสือขาว* สื่อถึงจิตวิญญาณอันเป็นเอกลักษณ์และกบฏของบัลรัมในโลกที่คนอย่างเขามักถูกคาดหวังให้ยอมจำนนในปี 2021 *The White Tiger* ได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ที่กำกับโดย Ramin Bahrani ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีจากการดัดแปลงและการแสดงที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะโดย Adarsh Gourav ในบทบาทนำ
เรื่องย่อ the white tiger
the white tiger พลราม (อาดาร์ช กอราฟ) คนขับรถสุดทะเยอทะยาน ที่ทำงานให้สองสามีภรรยาเศรษฐีชาวอินเดีย (ปริยังกา โจปรา โจนัส และ ราจคุมมาร์ ราว) ใช้สติปัญญาและเล่ห์เหลี่ยมปลดเปลื้องตัวเองจากความยากจน และผันตัวไปเป็นนักลงทุน เน็ตฟลิกซ์ได้คอนเทนต์เพชรเม็ดงามมาฉายอีกครั้ง กับหนังอินเดียที่ดัดแปลงจากหนังสือขายดีของ อาร์วินด์ อดิกา เรื่อง พยัคฆ์ขาวรำพัน (The White Tiger) โดยได้การกำกับและเขียนบทของ รามิน บาห์รานิ เจ้าของผลงานอย่าง Fahrenheit 451 (2018) ที่เคยเข้าชิงรางวัลเอมมี่ไพรม์ไทม์สาขาหนังทีวียอดเยี่ยมมาแล้ว และนี่ก็เป็นการมาร่วมงานกับเน็ตฟลิกซ์โดยมีโพรดิวเซอร์มือรางวัลอย่าง เอวา ดูเวอร์เนย์ ที่เคยกำกับผลงานชิงรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมมาแล้วกับ Selma (2014) มาช่วยอำนวยการสร้างให้ด้วย แต่เหนือกว่ารายชื่อทีมงานที่น่าสนใจแล้ว ก็คือ หนังเล่าเรื่องสนุกมาก
เรื่องราวของเด็กฉลาดเฉลียว ชนิดที่เรียกว่า 1 ใน 1,000 ซึ่งไม่ต่างจากโอกาสเกิดของเสือขาว เขาเกิดมาในวรรณะต่ำจากย่านชนบทขาดความเจริญ ถูกให้ออกจากโรงเรียนทั้งที่จะได้ทุนไปเรียนต่อเพราะฐานะทางบ้านยากจน มีเจ้าของที่ดินมาเฟียคอยขูดรีดทุกรูปีของคนในหมู่บ้าน แล้วเงินเล็กน้อยที่เหลือรอดมายังบ้านของพลรามก็ยังถูกธรรมเนียมเรื่องย่าเป็นใหญ่คอยขูดรีดจากสมาชิกในบ้านไปอีก เมื่อไม่มีเงิน ย่าก็ขูดรีดโอกาสของพวกลูกหลานในบ้านแทน เฉกเช่นที่พลรามอดเรียนต้องมาใช้แรงงาน และพี่ชายที่เมื่ออายุถึงก็ถูกบังคับแต่งงานเพื่อเอาสินสอดจากบ้านผู้หญิง
การเป็นคนขับรถให้นาย คือโอกาสพ้นชะตากรรมของแรงงานบ้านนอกในความคิดของพลราม
การพยายามไต่เต้าเอาชนะโชคชะตาทุกวิถีทางของพลราม (จนบางทีการกระทำเขาก็ดูเทา ๆ) จึงเป็นการต่อสู้กับอุปสรรคของสังคมอินเดีย ทั้งเรื่องวรรณะ ความเชื่อ จารีต และที่สำคัญที่สุดคือความเป็นทาสที่ฝังลึกอยู่ในกมลสันดานของคนจน เช่นเดียวกับที่พลรามเปรียบเปรยว่าหลายครั้งที่คมคาย ทั้งคำพูดที่ว่า อย่าเป็นคนจนในระบบประชาธิปไตย, อินเดียมีแค่ 2 วรรณะคือคนจนกับคนรวย และ คนจนอินเดียเป็นไก่ในกรง ที่ไม่คิดแหกกรงหนี และมีความเป็นทาสที่ยินดีรับใช้นายในทุกโอกาส
พลรามเหมือนระเบิดแสนซื่อที่ยังไร้ดินปืน จนกระทั่งเขาถูกกระทำระยำตำบอนจากคนที่เขาให้ใจที่สุดทั้งเจ้านายหัวฝรั่งผู้เมตตา และครอบครัวที่ผูกพันทางสายเลือด นั่นทำให้เขาพูดว่า ตนเองตรัสรู้ หรือรู้แจ้งเห็นชัดแล้วว่า คนจนจะเปลี่ยนวรรณะเป็นคนรวยได้ก็มีเพียง 2 เส้นทาง ไม่อาชญากรรม ก็การเมือง ซึ่งเราจะได้เป็นประจักษ์พยานการเติมดินปืนใส่หัวพลราม ที่สุดท้ายจะกลายเป็นเจ้าพ่อซิลิกอนวัลเลย์แห่งอินเดีย ตามที่ตัวตนเขาในอนาคตได้บอกผู้ชมมาตั้งแต่ต้นเรื่อง
อโศก ลูกชายคนเล็กของนายใหญ่ กับพิงกี้ ภรรยาหัวทันสมัย ที่กลับมาจากอเมริกาและไม่เห็นด้วยกับการมองเหยียดวรรณะคน
เอาจริงคือบรรยากาศเนื้อเรื่องและโพรดักชันต่าง ๆ ชวนนึกถึงหนังออสการ์อย่าง Slumdog Millionaire (2008) ของ แดนนี่ บอยล์ อยู่ไม่น้อยเลย และก็พอให้หายลงแดงได้ไม่น้อยเลยทีเดียวด้วย แต่บรรยากาศที่ว่าก็คล้ายสลัมด็อกฯ แค่ครึ่งเรื่องแรก โดยตัดความแฟนซีโรแมนติกออก เหลือเพียงตลกร้ายและการเสียดสีอย่างเมามัน
ก่อนจะกลายเป็นคัมมิงออฟเอจแบบเรียล ๆ ในครึ่งหลัง ที่เราจะเห็นการก่อกำเนิดของเสือขาวที่เหี้ยมโหดพอจะรับมือโลกที่เลวร้ายได้ทัดเทียมกัน ซึ่งแม้ดาราดัง ๆ อย่าง ปริยังกา โจปรา โจนัส ที่ไปโผล่ในหนังฮอลลีวูดหลายเรื่องแล้วจะเล่นในเรื่องนี้ แต่บอกเลยว่าไม่มีใครแจ้งเกิดเกิน อาดาร์ช กอราฟ พระเอกหน้ามนที่น่าจดจำทั้งลูกเซ่อและลูกเจ้าเล่ห์แต่ก็เกลียดไม่ลง นึกไปถึงครั้ง เดฟ พาเทล ที่ทำสำเร็จโกอินเตอร์มาก่อนหน้านี้ด้วยเลย หนังอาจให้ข้อคิดผ่านตัวละครต่าง ๆ ได้อย่างน่าสนใจว่าเราเป็นตัวละครไหนในสังคมนี้อยู่หรือไม่ และหนังก็บันดาลความสะใจในบทสรุปได้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
หนังทิ้งประโยคเด็ดที่เราคิดมาตลอดระหว่างชมเมื่อพลรามหันมาถามคนดูว่า แล้วประเทศคุณมันมีอะไรบัดซบแบบนี้บ้างไหม? แทบจะส่ายหัวแบบคนอินเดีย (ที่แปลว่าใช่) ใส่จอทีเดียวเชียว
จุดเด่น
- บทจากหนังสือขายดีที่ใช้สไตล์ตลกร้ายเล่าเรื่องชะตาเล่นตลกของยาจกผู้พิชิตเมืองได้อย่างสนุกมาก การแสดงของดาราอินเดียก็หายห่วงมาก ๆ ที่สำคัญ อาดาร์ช กอราฟ พระเอกฉายแสงได้น่าสนใจไม่แพ้ครั้ง เดฟ พาเทล ทำตอนแจ้งเกิดเลย
จุดสังเกต
- เปิดซาวด์แทร็กซับไทยเอาดีกว่า เพราะพากย์ไทยมีแค่ตอนตัวละครพูดอังกฤษ พอพูดอินเดียก็ต้องอ่านซับไทยเองอยู่ดีเพราะไม่พากย์ไทยให้ แต่เอาจริงชอบเสียงพระเอกของพากย์ไทยนะ the white tiger